ดนตรีสากล
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีสากล
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Popular Music
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ดนตรีสากล)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine and Applied Arts (Popular Music)
อักษรย่อ ภาษาไทย: ศป.บ. (ดนตรีสากล)
อักษรย่อ ภาษาอังกฤษ: B.F.A. (Popular Music)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
120 หน่วยกิต
รูปแบบหลักสูตร
ระดับปริญญาตรี 4 ปี
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ศิลปิน นักดนตรีอาชีพ
- ผู้สอนดนตรี
- นักแต่งเพลง นักเรียบเรียงดนตรี โปรดิวเซอร์
- ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับดนตรี
- ผู้ควบคุมระบบดนตรี ผู้ควบคุมการผสมเสียง ช่างเทคนิกดนตรี
- ผู้สร้างเนื้อหา (Content Creator) รายการที่เกี่ยวกับดนตรีผ่านสื่อต่างๆ
ปรัชญาของหลักสูตร
ความรู้คู่คุณธรรมนำดนตรีสรรค์สร้างสังคม
ความสำคัญของหลักสูตร
มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา มีพันธกิจสำคัญคือการส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาให้แก่ปวงชน หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีสากล จึงมีความสำคัญในการเปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีใจรักในเสียงดนตรีได้เข้ามาเรียนรู้ ค้นหาตัวตน พัฒนาทักษะดนตรี เพื่อนำศิลปะอันทรงพลังนี้ไปสร้างคุณค่าแก่ตนเองและผู้อื่น
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม เจตคติที่ดีแก่ตนเองและผู้อื่น
- ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านทฤษฎีดนตรี ทักษะดนตรี ที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพด้านดนตรี
- ผลิตบัณฑิตที่สามารถทำงานเป็นทีม มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการปรับตัวเพื่อให้เท่าทันต่อการพลิกผันที่เกิดขึ้นในสังคม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs)
PLO 1 มีความรู้พื้นฐานในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศิลปกรรมอย่างเหมาะสมตามที่เรียนมา อาทิ ทรัพย์สินทางปัญญา มุมมองทางศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ ดนตรีกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเป็นพลเมือง ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย พัฒนาการของดนตรีและศิลปะการแสดงกับสังคม การบริหารจัดการการแสดงดนตรีสุนทรียศาสตร์ การใช้ภาษาอังกฤษกับงานศิลปกรรม ระเบียบวิธีวิจัยด้านดนตรีเบื้องต้น การจัดงานดนตรี ธุรกิจดนตรี และการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีขั้นพื้นฐาน
PLO 2 อธิบายทฤษฎีดนตรีสากล อาทิ การบันทึกโน้ตดนตรี บันไดเสียง ขั้นคู่เสียง คอร์ด การประสานเสียงในสไตล์ดนตรีสากล ทฤษฎีดนตรีแจ๊ส การใช้เทคโนโลยีในงานดนตรีได้อย่างเหมาะสมตามที่เรียนมาและเปรียบเทียบความแตกต่างของสไตล์ดนตรีด้วยบริบททางประวัติศาสตร์ได้
PLO 3 ประยุกต์ความรู้ด้านทฤษฎีดนตรีและเทคโนโลยีดนตรีเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีสากลได้อย่างเหมาะสมตามที่เรียนมา
PLO 4 ผู้ที่เรียนเน้นด้านการแต่งเพลงสามารถประยุกต์ทฤษฎีดนตรีเพื่อใช้ในการแต่งเพลงและเรียบเรียงเสียงประสานตามสไตล์ดนตรีสากลได้
PLO 5 ปฏิบัติรวมวงดนตรีสากลในสไตล์ดนตรีต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมตามที่เรียนมา อาทิ ดนตรีป๊อปร่วมสมัย ดนตรีร็อก ดนตรีบลูส์ ดนตรีคันทรี ดนตรีฮิปฮอป ดนตรีอาร์แอนบี ดนตรีโซลฟังก์ ดนตรีแจ๊ส
PLO 6 ผู้ที่เรียนเน้นด้านการแสดงดนตรีสามารถปฏิบัติดนตรีตามเครื่องเอกที่เลือกได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามสไตล์ดนตรีสากล อาทิ ขับร้อง คีย์บอร์ด กีตาร์ กีตาร์เบส กลองชุด เครื่องสายสากล เครื่องเป่าทองเหลือง เครื่องเป่าลมไม้
PLO 7 สามารถอ่านเขียนโน้ตสากลได้ เล่นเปียโนขั้นพื้นฐาน ฟังจังหวะ ทำนองแล้วร้องตามได้อย่างเหมาะสมตามที่เรียนมา
PLO 8 มีจิตสาธารณะ ใช้ความสามารถด้านดนตรีในการช่วยเหลือผู้อื่น อาทิ ดนตรีเพื่อการกุศล การอาสาจัดกิจกรรมต่างๆ
PLO 9 รู้จักการอ้างอิงผลงานจากแหล่งที่มา ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
PLO 10 มีความกล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ มีทักษะการปรับตัว สามารถทำงานเป็นทีมในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานดนตรีได้อย่างเหมาะสมตามที่เรียนมา อาทิ การแสดงดนตรีต่อหน้าสาธารณชน การนำเสนอผลงานดนตรี
PLO 11 มีใจรักในการเล่นดนตรี การแสดงดนตรี และเจตคติที่ดีแก่ตนเองและผู้อื่น
PLO 12 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานที่เกี่ยวของกับดนตรีได้อย่างเหมาะสมตามที่เรียนมามีความรู้คู่คุณธรรม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่
โครงสร้างหลักสูตร
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 90 หน่วยกิต
- วิชาแกน 51 หน่วยกิต
- วิชาเฉพาะด้าน 12 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาการแสดงดนตรี (Music Performance)
- กลุ่มวิชาการแต่งเพลง (Songwriting)
- วิชาพื้นฐานวิชาชีพ 27 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต