Alumni
รุ่นที่ 1 รหัส 50
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
นที พลวิเศษ
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
ขอบคุณคณะที่ทำให้มีโอกาสได้กลับมาเล่นดนตรีอีกครั้ง อ่านโน้ตได้ก็ที่นี่แหล่ะครับ
รุ่นที่ 2 รหัส 51
นนทิยา จิวบางป่า
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
เจนคณิต สุขเสริมส่งชัย
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
อดิสรณ์ พันภูษา
สาขาวิชาดนตรีไทย
ขอขอบคุณคณาจารย์ทุกท่านที่มอบความรู้และประสบการณ์อันทรงคุณค่า ศิลปกรรม รามฯ คือที่สร้างคนคุณภาพ ให้เป็นที่ประจักษ์อย่างแท้จริง
นิพา พรเลิศพานิชย์
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
ผลจากการเลือกเรียนให้ตรงใจและตรงสาขาที่เราชื่นชอบ พอไปทำงานสามารถปรับใช้กับการทำงาน ซึ่งเป็นงานยากและท้าทายความสามารถของตนเองได้อย่างดี โดยนำความรู้ ความสามารถจากคณะคุณครูไปใช้ได้อย่างเต็มความสามารถ ต้องขอบคุณทางคณะศิลปกรรมศาสาตร์ สาขานาฏกรรมไทยทุกท่านที่อบรมลูกศิษย์คนนี้จนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานค่ะ
วิภาวี วงษ์ดี
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
รุ่นที่ 3 รหัส 52
นวธรณ์ ทันธรานนท์
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
มีทุกวันนี้พราะศิลปกรรม
ธรากร บัวยังตูม
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
สุภาวดี คำแก้ว
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
ได้เป็นคุณครูที่ดีมีความสามารถมากมาย เพราะคณะศิลปกรรมศาสตร์และคุณครูภาคนาฏกรรมไทยให้คำปรึกษาที่ดีมาตลอดถึงแม้จะจบออกมาแล้ว
สิทธิพงศ์ เจียมพรเศรษฐ์
สาขาวิชาดนตรีไทย
นอกจากความรู้แล้วยังได้รับประสบการณ์ที่ประยุกต์ใช้งานได้จริงทั้งการสอนและการจัดการ ขอบคุณศิลปกรรมฯ รามครับ
ธนภาค เฉลิมพงษ์
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
การพบกันของเพื่อนร่วมรุ่นปีและเพื่อนรุ่นพี่รุ่นน้องที่มาจากหลากสาขาอาชีพทำให้ผมเข้าใจในความเป็นครูกันคนละอย่าง และไม่เคยเป็นน้ำเต็มแก้วเลยมากว่า11ปีที่จบจากคณะมา
กัญญนันทน์ รื่นเริงธนวัชร์
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
คณะศิลปกรรมศาสตร์ได้ให้วิชาความรู้ที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานด้านต่างๆ ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนำมาใช้ในอาชีพที่ทำได้อย่างดี
รุ่นที่ 4 รหัส 53
อนุวัฒน์ เขียวปราง
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
จากความรู้ ประสบการณ์ และโอกาสที่ผมได้รับจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงนั้น ไม่ใช่เพียงปัจจัยสำคัญที่ตอบสนองความอยากเรียนดนตรีของเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งในวันนั้น แต่ยังเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้มีผมทุกวันนี้
กาญจนา จันทร์ไผ่
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
วิทยา เภสัชชา
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
ขอขอบคุณคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตลอดจนคณาจารย์ทุกท่านที่ให้ความรู้ ประสบการณ์ สามารถนำไปต่อยอดจนประสบความสำเร็จในอาชีพได้ ไม่มีราม ไม่มีเรา
ชิตพล สดสร้อย
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
ความรู้ ความสุข ความเศร้า สมหวังผิดหวัง มิตรภาพ ความสำเร็จ เกิดขึ้นที่นี่คณะศิลปกรรมศาสตร์
ชัยวัฒน์ ชมะโชติ
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
ดนตรีจะไม่มีวันตายและจะไม่มีวันหยุดพัฒนา
พรพิพัฒน์ ภิญโญ
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
ภรภัสสรณ์ ชัยอนันต์นิธิ
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
ณัฏฐกานต์ กิตติ์วาทิน
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
คณะได้ให้ทั้งความรู้ และประสบการณ์ที่เป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิต
ชาลุทัต สีสอนการ
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
ศิลปกรรมศาสตร์นำความรู้ สู่สากล
เวชยานนท์ คล้ายมงคล
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
หลังจากเรียนจบไป นำสิ่งที่เรียนไปต่อยอดกับอาชีพลิเก รำได้ถูกต้องตามแบบนาฏศิลป์ไทย สร้างสรรค์โชว์รำใหม่ๆ ให้กับคณะลิเกของตนเอง ทั้งยังนำความรู้ที่เรียนมา สอนให้กับเด็กๆและลูกน้องในคณะ
นนทรี พวงภู่
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
คณะศิลปกรรมศาสตร์และคุณครูในภาคนาฏกรรมไทยคอยให้คำปรึกษามาตลอดตั้งแต่เรียนจนกระทั่งมีโอกาสได้มาเป็นครูตามความฝัน วิชาต่างๆ ที่เรียนสามารถนำมาต่อยอดในการทำงานสายครูได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมหรือการแสดงต่างๆ ร่วมถึงการเข้าสังคมและประสบการณ์ในชีวิต
รุ่นที่ 5 รหัส 54
โชติกา มีแก้ว
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
รามคำแหงมอบโอกาสคณะศิลปกรรมฯมอบประสบการณ์ในการเรียนรู้และมิตรภาพที่ดีต่อทุกคน
พริษฐ์ สุขช่วย
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
ความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ทุกๆท่าน สามารถนำไปใช้ได้จริงในวิชาชีพครู ทั้งความรู้ กระบวนการสอน หรือเทคนิคต่างๆ ที่ได้รับในช่วงชีวิตของนักศึกษา สามาถนำไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนได้จริง จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับชาติหลายๆรางวัล
รพีพร แสงแก้ว
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
ความรู้ที่ได้จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชานาฏกรรมไทย เสมือนเป็นเครื่องประดับติดตัว ทำให้เราเป็นคนมีความรู้ความสามารถ และนำความรู้ความสามารถนั้นมาเผยแพร่ถ่ายทอดสู่บุคคลในองค์กรได้ อีกทั้งการเรียนคณะนี้ทำให้เราเป็นคนมีระเบียบวินัยและบุคลิกภาพที่ดี
เรือโท นรวิชญ์ สัมภวะผล
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
ศิลปกรรม รามฯ ให้ความรู้ ให้มิตรภาพ ให้ประสบการณ์ เป็นดั่งครอบครัวครับ
จตุพร พรมกระโทก
สาขาวิชาดนตรีไทย
ศิลปกรรมศาสตร์ เหมือนบ้านเหมือนครอบครัว ที่มีรั้วมหาวิทยาลัยรามคำแหงล้อมพวกเราไว้ด้วยกัน บ้านหลังนี้มอบใบเบิกทางของอนาคตที่มีอยู่ในปัจจุบัน
สุทธิพัฒน์ ธีรพงศ์ธาดา
สาขาวิชาดนตรีไทย
เสาวลักษณ์ อักษรศิริ
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
ได้เรียนสิ่งที่ตัวเองรัก เพิ่มความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และมีความสุขในทุก ๆ วันที่ไปเรียน
ณภัทร ไพบูลย์
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
เมื่อสำเร็จการศึกษา สามารถนำความรู้มาใช้สอนนักเรียน ให้มีความสามารถและเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ ประกอบกับการเชื่อมโยงศาตร์ของนาฏศิลป์ไปยังรายวิชาอื่นๆ ได้ อีกทั้งสามารถนำความรู้ในเรื่องของการวิจัยมาใช้ในการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ได้
จุฑารัตน์ วรรธนวศิน
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
เคยมีโอกาสทำงานอย่างมีความสุขในแบบที่ชอบและใช้ประโยชน์สูงสุดจากสิ่งที่เคยเรียน เพราะคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชานาฏกรรมไทย ขอขอบพระคุณคุณครูทุกท่าน และคณะของเราที่ทำให้มีวันนี้ค่ะ
รุ่นที่ 6 รหัส 55
คคนางค์ หวังเชิดชูวงศ์
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
ที่นี่เรามีกันหลากหลายวัย ทำให้ได้แง่มุม ทัศนคติที่เกี่ยวกับดนตรีและประสบการณ์ชีวิตที่หลากหลาย ที่จะสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตและงานของเราได้
คมสัญ ชุ่มเจริญสุข
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
ดรัลพร แรมสูงเนิน
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
เรียนจบมาแล้ว สามารถนำความรู้ ความสามารถที่ทางคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณาจารย์ในคณะทุกท่านนำมาใช้ในการประกอบอาชีพ "ครู" และได้นำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ และสร้างสรรค์ผลงานต่างในการแข่งระดับประเทศ ระดับภาค ระดับจังหวัด และระดับเขต ในการแข่งขันต่างๆ เพื่อสร้างชื่อเสียงในกับสถานศึกษา รวมถึงได้นำองค์ความรู้ได้สร้างสรรค์ผลงานตลอดการเป็นครูในสถานศึกษาที่ได้ปฏิบัติงานตลอดมา
ไกรสร จึงภักดี
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
ดำรงด์ศักดิ์ แสงประเสริฐ
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
สิ่งที่ได้รับจากที่นี่คือความสุขที่ได้ร่วมเล่นดนตรีกับเพื่อนๆ และได้แลกเปลี่ยนทัศนคติกันในด้านดนตรี รวมถึงความรู้จากอาจารย์ทุกท่านทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สิ่งเหล่าไม่เป็นแต่เป็นประสบการณ์ที่ดีเท่านั้น แต่ความรู้ทั้งหมดนั้นสามารถนำไปพัฒนาตนเองได้จริงๆ ครับ
อัครศินี ชุมสำโรง
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
อยากเรียนรำ ต้องนาฏกรรมคณะศิลปกรรมมหาวิทยาลัยรามคำแหง เปลวเทียนให้แสงรามคำแหงให้ทางศิลปกรรมศาสตร์ให้ใบเบิกทางสู่อนาคตที่ดี
ฐิติกิติ์ ศิริชานนท์
สาขาวิชาดนตรีไทย
นันท์ชนก ศิวะชิตพงศ์
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
อาจารย์ที่นี่ใจดีทุกคนเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับวิชาความรู้ที่นำมาใช้ในชีวิตและงาน ได้รับประสบการณ์และความคิดใหม่ๆในแนวทางดนตรี ที่สำคัญคือที่นี่เรามีหลากหลายวัยทำให้ได้รับแนวคิดในการใช้ชีวิต ได้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เราอยู่กันเป็นครอบครัวค่ะ เพราะดนตรีเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อเราทุกคนไว้ ขอบคุณศิลปกรรม รามคำแหงค่ะ
เฉลิมศักดิ์ รักสอาด
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
เอก ธนันท์ตรีศักดิ์
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
กมลรัตน์ รักวารินทร์
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
วิชยุตม์ สละประเวศน์
สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
รุ่นที่ 7 รหัส 56
เมญาณี เทียบเทียม
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
เฉลิมพรรษ์ กุศลานุกูล
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
ดลชัย อารุจีวงศ์
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
ธัญญรัตน์ เดชะ
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
ได้การเป็นคนดีต่อตนเองและสังคม ขยันซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้ความอดทนในการทำงานและดำรงชีวิตด้วยคุณธรรมในการทำงานให้สัมฤทธิผลที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จค่ะ
ฤดี เรืองแสง
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
เรียนจบนาฏศิลป์รามคำแหง ได้สอนเด็กมห้กล้าแสดงออกรวมถึง ให้รู้จักการบริหารงานกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนและนอกสถานที่
รุ่นที่ 8 รหัส 57
ชลธิชา พุทธมิลินประทีป
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
คณะให้ความรู้ศิษย์เท่ากัน อยู่ที่ศิษย์จะขยันเก็บความรู้ได้มากเท่าไหร่
ธันย์วรินท์ วงษ์สมบัติ
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
ครูที่นี่เก่งมากทุกๆท่านเลย และคณะนี้ มอบความรู้ ที่เป็นประโยชน์ และนำไปใช้ได้จริงๆ
เสกสรร ไชยเภรี
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
ไชยพฤกษ์ เขตพงศ์
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
จากประสบการณ์การเรียนในห้องสู่ประสบการณ์การทำงานในวงการบันเทิง ผมได้นำเอาความรู้ต่างๆ ในห้องเรียน เช่น ความรู้เรื่องประวัติและพัฒนาการเครื่องแต่งกาย ความรู้เรื่องการจัดการแสดง มาพัฒนาต่อยอดความรู้ในการทำงาน และนอกจากความรู้ต่างๆ ที่ได้จากห้องเรียน คือ การมอบโอกาส การติดตาม และความเข้าใจในตัวนักศึกษาหลายๆ คนต้องทำงาน และเรียนไปด้วย และถึงแม้ในปัจจุบันผมจะจบการศึกษาออกมาแล้วแต่ความห่วงใยของอาจารย์ในคณะก็ยังคงมีมอบให้อย่างอบอุ่นเสมอมา
กันตพัฒน์ จุติพรภูติวัฒน์
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
สุภัค ชาญชัยศิลป์
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
คณะศิลปกรรมศาสตร์รามคำแหง ทำให้ได้รู้จักคำว่าดนตรีที่ได้ยินจากใจ ไม่ว่าเราอยู่ในเส้นทางไหน ดนตรีจากใจนั้นจะคอยนำพาให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างดีเสมอ
ชมัยพร สุวรรณสุขสันติ
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
ได้เปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับสาขานาฏศิลป์ที่ให้ผู้เรียนได้แสดงออกทางความคิด การปฏิบัติ คณาจารย์ให้ความใส่ใจและติดตามดูแลผู้เรียนอย่างดี คอยสอบถาม ช่วยเหลือเมื่อยามมีปัญหาด้านเวลาเรียน
ภัทรธีรา ดีสัว
สาขาวิชาดนตรีไทย
ขอบคุณรามคำแหง ที่ให้ความรู้ ประสบการณ์และ Connection ค่ะ
ปัญจศีล ปัญจศรีรัตน์
สาขาวิชาดนตรีไทย
ขอขอบคุณที่เปิดโอกาสให้ได้ทำในสิ่งใหม่ ได้ความรู้ความสามารถทักษะประสบการณ์ที่ดีและเป็นประโยชน์
ญณศร มังคละคีรี
สาขาวิชาดนตรีไทย
ศิลปกรรมราม สร้างเส้นทาง สร้างชีวิต
ยุภาภรณ์ พูลสวัสดิ์
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
ที่นี่มีมิตรภาพ และความทรงจำดีๆ ให้องค์ความรู้ที่สามารถนำไปพัฒนาทักษะที่ตัวเองชอบ นำไปสู่การปฏิบัติงานจริง และการได้รับโอกาสที่ดีทางสังคม
พรพิมล กมลดีเยี่ยม
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
คณะศิลปกรรมศาสตร์ของเราที่นี่สอนให้เราได้รู้จักคำว่าเพื่อนที่ไม่จำกัดอายุ คุณสามารถมีเพื่อนที่อายุต่างกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างอบอุ่น อีกทั้งคณะครูอาจารย์ผู้สอนที่มีความน่ารักและเป็นกันเอง ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างสนุกสนานค่ะ
มุจลินทร์ วิมานนาคา
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
เรียนจบแล้วเอามาปรับใช้กับสายงานที่ทำอยู่เกี่ยวกับการแสดงต่างๆ และเอามาสอนต่อกับรุ่นน้องในที่ทำงานและรับสอนกับหน่วยงานต่างๆ ได้
รุ่นที่ 9 รหัส 58
สัตยา มากเจริญ
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
สิ่งที่ได้จากคณะคือความรู้ และความเข้าใจ ในด้านประวัติศาสตร์ ทฤษฎีดนตรี การปฎิบัติ และการใช้เทคโนโลยีในด้านดนตรี ที่นำไปสู่ แนวคิด ในการ สร้างสรรค์ผลงานของตนเองได้จริง รวมถึง คำแนะนำ และที่ปรึกษา จาก อาจารย์ในคณะเฉพาะด้านของทุกๆ ท่านที่เป็นกันเองมากๆ ครับ
กฤษณภูมิ แก้วเจริญ
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
ถ้าคุณมีความฝัน ถ้าคุณรักในเสียงเพลง ถ้าคุณอยากเจอครอบครัวเพื่อนพี่น้องที่อบอุ่น คุณจะเจอได้ในศิลปกรรมราม
พิพัฒน์ อุ่นยวง
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
ศิลปกรรมคือรากฐานของความสำเร็จ
อภิชิต ศาสตรี
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
ประสบการณ์ครั้งหนึ่งที่ได้ทำตามสิ่งที่ฝันไว้ คือการได้มาเรียนดนตรีที่นี่แหละครับ
สงกรานต์ พรชื่น
สาขาวิชาดนตรีไทย
คณะศิลปะกรรมศาสตร์เป็นเหมือนบ้านที่ให้ความรู้
คณาวุฒิ นวลปลั่ง
สาขาวิชาดนตรีไทย
คณะศิลปกรรมศาสตร์รามคำแหงคือที่บ่มเพาะให้ผมมีวันนี้
รัญลาญา อาชีวะ
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
ถ้าดนตรี..เปรียบเสมือนดั่งอาหารของจิตวิญญาณ สถานศึกษาแห่งนี้ ก็คงเปรียบได้กับ..ผู้ซึ่งให้อาหารทางสติปัญญาในด้านของดนตรีอย่างแท้จริง
เกียรติศักดิ์ สายทอง
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
รุ่นที่ 10 รหัส 59
ณัฐวุฒิ อธิพัฒน์เดชาพร
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
เรียนที่นี้ได้เรียนรู้มากมายไม่ว่าจะเป็นด้านทฤษฎีหรือปฏิบัติอาจารย์เป็นกันเองมากครับน่ารักทุกคนเลยปรึกษาได้ทุกเรื่อง
ศรศมน ธนปภาวิทย์
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
จากที่เรียนจบนาฏกรรมไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้นำความรู้ทางนาฏศิลป์ไปประกอบอาชีพโดยการสอนนักเรียน และยังนำความรู้ในด้านต่างๆ ที่ได้เรียนรู้จากที่นี่ไปประยุกต์ใช้ในอาชีพได้อีกหลายด้าน เพราะคณะศิลปกรรมกรรมศาตร์เปิดโอกาสให้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ได้เข้ารับการศึกษา จึงทำให้หนูประสบความสำเร็จในการเรียนและส่งผลให้มีอาชีพที่ต้องการอย่างที่หวังไว้
นิพนธุ์ ปานแสน
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
ได้เรียนรู้ทักษะการเล่นกีตาร์สามารถนำไปต่อยอดเพิ่มเติมในอาชีพนักดนตรี ประสบการณ์การขึ้นเวที เรียนรู้ดนตรีในหลายๆ ทวีป ประกอบกับการเจาะลึกดนตรีหลายๆ แบบ
กิตติศักดิ์ เสรีเผ่าวงษ์
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
ได้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดนตรีที่ใช้ได้จริงในการทำงาน และได้มิตรภาพดีๆ จากเพื่อนๆ และคำปรึกษาดีๆ จากอาจารย์ทุกคนครับ
ธนัทรักษ์ พานิช
สาขาวิชาดนตรีไทย
ขอบคุณคณะศิลปกรรมศาสตร์ที่ช่วยเติมเต็มความรู้ ประสบการณ์ ความสุข และมิตรภาพ รวมไปถึงขอบคุณความเป็น “รามคำแหง” ที่เปิดกว้างและให้โอกาสให้กับทุกคนค่ะ
จุฑาพร ทองมี
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
ได้นำทักษะการบริหารจัดการแสดง มาปรับใช้กับงานบริหารในองค์กร เช่น รูปแบบการจัดสถานที่งาน Team Building , จัด Work Shop ,จัด Event เป็นต้น และสิ่งสำคัญคือความเป็นศิลปินหรือนักแสดง กล้าคิด กล้าเสนอ กล้าลงมือปฏิบัติ เป็นผู้นำที่ดี และเป็นผู้สอนที่ดี เฉกเช่นเดียวกับที่คุณครูศิลปกรรมรามได้ปลูกฝังมาค่ะ
โยษิตา รีหอม
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
กัลยาณี คลองโคน
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
รุ่นที่ 11 รหัส 60
จิรายุ ชาลี
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
สำหรับผม ดนตรีสากลรามคำแหงนั้นเปรียบเสมือนตลาดดนตรี ที่มีหลากหลายแนวดนตรีอยู่ร่วมกัน และบุคลากรที่มากฝีมือเข้ามาสอนและให้ความรู้มากมาย เข้าง่ายแต่ออกยาก '' จงเล่นดนตรีให้มีความสุข และ สนุกไปกับมัน
วาสินี ภู่เจริญยศ
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
ภูริณัฐ ศรสำแดง
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
เผ่าพงศ์ พ้นภัย
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
รุ่นที่ 12 รหัส 61
กชามาส บุตรศรี
สาขาวิชานาฏกรรมไทย
วิชาที่เรียนนำไปใช้ในสายอาชีพได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการรำมาตรฐาน หรือการประดิษฐ์ท่ารำขึ้นมาใหม่ในกิจกรรมต่างๆ คุณครูที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ให้คำปรึกษาตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาจนตอนนี้มาประกอบอาชีพครูแล้วก็ตาม นอกจากความรู้ตามหลักสูตรที่ได้รับ คณะครูยังให้ความรู้ที่นำไปเลี้ยงชีพด้านอื่นๆ อีกด้วยค่ะ
ชฤทธิ์ ตรีหิรัญ
สาขาวิชาดนตรีไทย
ขอบคุณคณะศิลปกรรมที่ให้โอกาสและเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาในขณะทำงาน